เมนู

ถึงพระปัญจวัคคีย์ผู้มีอุปการะมาก เสด็จลุกจากอาสนะเสด็จดำเนินไปเมืองกาสี
ในระหว่างทางได้ทรงสนทนากับอุปกะอาชีวก ในวันอาสาฬหปุรณมีก็ทรง
บรรลุถึงที่อยู่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงทำปัญจวัคคีย์ผู้
ร้องเรียกพระองค์ ด้วยคำร้องเรียกอันไม่สมควรให้เชื่อฟังแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักรโปรดพระปัญจวัคคีย์มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นประมุข และ
พวกพรหม 18 โกฏิ ให้ดื่มอมตรสแล้ว พึงทราบเทศนานิทานจนถึงการ
ประกาศพระธรรมจักรดังพรรณนามาฉะนี้. ความย่อมีเพียงเท่านี้ ชื่อว่า ความ
พิสดารพึงทราบด้วยนาจแห่งอรรถกถาทั้งหลาย และพระสูตรทั้งหลายมีอริย-
ปริเยสนสูตร และปัพพสูตรเป็นต้น พระอภิธรรมสมบูรณ์ด้วยอธิคมนิทาน
และเทศนานิทาน มีอยู่ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระอภิธรรมมีนิทาน 3



นิทานของพระอภิธรรมแม้อื่นอีกมี 3 คือ
1. ทูเรนิทาน (นิทานไกล)
2. อวิทูเรนิทาน (นิทานไม่ไกล)
3. สันติเกนิทาน (นิทานใกล้)
บรรดานิทานทั้ง 3 นั้น พึงทราบทูเรนิทานเริ่มตั้งแต่บาทมูลของ
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร จนถึงดุสิตบุรี พึงทราบอวิทูเรนิทาน
เริ่มตั้งแต่ดุสิตบุรีจนถึงโพธิมณฑล คำว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ควงไม้ปาริฉัตตกะในหมู่เทพยดา
ชั้นดาวดึงส์นั้นแล ได้ตรัสอภิธรรมแก่เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ ชื่อว่า
สันติเกนิทานของพระอภิธรรมนั้น.
จบนิทานกถาเพียงเท่านี้

อรรถกถามาติกานุบุพบท

*

บัดนี้ ถึงโอกาสการกล่าวอภิธรรมกถาตามที่ข้าพเจ้าให้ปฏิญญาไว้
อย่างนี้ว่า
เมื่อข้าพเจ้ากล่าวอภิธรรมกถานี้อยู่
ด้วยอาการอย่างนี้ ขอสาธุชนทั้งหลายอย่า
ฟุ้งซ่าน จงตั้งใจสดับฟัง เพราะกถาเช่นนี้
หาฟังได้ยากนัก
.
ในอภิธรรมกถานั้น ปกรณ์ 7 มีอภิธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า
อภิธรรม แม้ในธรรมสังคณีก็จำแนกเป็น 4 กัณฑ์ มีจิตตุปปาทกัณฑ์เป็นต้น
ถึงจิตตุปปาทกัณฑ์นั้นมีมาติกาเป็นเบื้องต้น ถึงมาติกานั้นก็ยังแบ่งเป็น 2 คือ
ติกมาติกา และทุกมาติกา. ในมาติกาทั้ง 2 อย่างนั้น ติกมาติกาเป็นเบื้องต้น
แม้ในติกมาติกาก็มีกุศลติกะเป็นเบื้องต้น ถึงในกุศลติกะก็มีบทนี้ว่า กุสลา
ธมฺมา
เป็นเบื้องต้น เพราะฉะนั้น
ตั้งแต่แต่นี้ไป ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
จงมีจิตสงบ ตั้งใจสดับฟังอภิธรรมกถาอัน
ลึกซึ้งนี้ ซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวอยู่ให้ดีเถิด
.
* เริ่มอธิบายติกมาติกา 22 ติกะ.